อะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณจ่ายค่าภาษีช้าในญี่ปุ่น

นี่เป็นโพสสั้นๆที่ผมตั้งใจจะเขียนลงเวปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากค่าภาษีของผมถูกหักมาเป็นค่าใช้จ่าย ยังไงมันก็ยังเกี่ยวกันอยู่ล่ะนะ เมื่อคุณใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น หลายสิ่งที่คุณได้เห็นและทำจะแตกต่างไปจากที่บ้านเกิด อย่างไรก็ตาม บางอย่างก็ไม่เปลี่ยน หากคุณมีรายได้ในประเทศญี่ปุ่น คุณจำเป็นต้องจ่ายค่าภาษีด้วย. บางบริษัทดูแลได้ดีในเรื่องการหักภาษีให้คุณ แต่ถ้าคุณทำกับบริษัทที่ไม่ดูแลเรื่องนี้ ก็คงต้องจัดการด้วยตัวคุณเอง โปรดย้อนกลับไปดูโพสก่อนหน้าที่ผมเขียนไว้เรื่อง ภาษีญี่ปุ่น. สำหรับผม, มาจากงานที่จ่ายให้สูงกว่างานที่ทำอยู่ตอนนี้มาก. นั่นหมายถึงภาระค่าภาษีก็จะสูงขึ้นมากกว่าที่ผมอยากให้มันเป็น บางครั้งก็แพงเกินกว่าที่ผมจะจ่ายแบบสบายๆได้ในรอบเดือน. หลังจากที่จ่ายครั้งแรกเป็นเงิน 40,600เยน หลังจากนั้นก็จะมีส่วนแบ่งจ่ายที่เหลืออีก 3 ครั้ง ครั้งละ 38,000เยน. จ่ายแพงขนาดนั้นเรียกได้ว่ากระเป๋าฉีกกันเลยทีเดียว แผนการชำระเงินวางไว้อย่างนั้น ผมมีเวลา 60 วันสำหรับจ่ายแต่ละครั้งซึ่งก็นานพอจะจัดการได้ แต่ก็มีรอบนึงที่ผมลืมจ่ายโดยไม่ได้ตั้งใจ. แล้วคุณจะทำยังไงหากจ่ายค่าภาษีช้า? อย่างแรกที่ต้องจำไว้คือ อย่าตื่นตูม. ผมเรียนรู้ได้ที่ญี่ปุ่น จากการเจอปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเงิน กฎระเบียบที่นี่ค่อนข้างอนุโลมกว่าที่อเมริกาเล็กน้อย โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าผมสนับสนุนให้คุณจ่ายบิลช้านะ ผมไม่คิดว่ามันเป็นไอเดียที่ดี แต่ผมรู้ดีว่าบางครั้งเราก็ผิดพลาดกันได้ สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นคือ คุณจะได้รับการแจ้งเตือนทางไปรษณีย์ที่ส่งมาจากศาลากลางในจังหวัดนั้นๆ ที่ผมได้รับมีหน้าตาประมาณนี้ นี่คือการแจ้งเตือนค่าภาษีแบบซึคุบะ. ถูกส่งมาเมื่อปลายปีที่แล้ว สังเกตเห็นตราปั้มด้านล่างขวามั้ย? นั่นล่ะผมจ่ายเอง ฟู่วว เสร็จไปหนึ่ง จดหมายแจ้งเตือนนี้จะแจ้งให้รู้ค่าภาษีที่ค้างและค่าเตือนที่คุณต้องจ่าย. มันไม่ได้แพงมาก แค่ 100เยน. แต่อย่าลิม ถ้าภาษีของคุณยิ่งล่าช้า ค่าธรรมเนียมที่จะถูกเรียกก็จะคำนวณโดยอิงจากจำนวนวันที่ล่าช้าและจำนวนเงินค้างชำระ. ที่ซึคุบะ คิดเป็น 14.6% ต่อปีของจำนวนเงินที่ครบกำหนด. ถึงผมจะรู้ดีว่าคงจ่ายที่ร้านสะดวกซื้อไม่ทันแล้ว ผมลองไปที่ร้านมินิสตอปแล้วลองจ่ายดู. แน่นอนว่าจ่ายไม่ได้, พนักงานแจ้งให้ผมรู้ว่าไม่สามารถจ่ายได้เนื่องจากเกินกำหนดชำระไปแล้ว. ผมขี่มอเตอร์ไซค์ไปที่ศาลากลางจังหวัดพร้อมกับเงินในมือ คำนวณคร่าวๆจากหน้าประตูใหญ่ถึงโต๊ะเสมียนไปกลับก็แค่ 2-3 นาที(ไม่มีคิวต่อแถว) ไม่เจ็บ ไม่เหนื่อย ไม่มีใครถามอะไรสักคำ ดีที่สุดเสมอถ้าคุณสามารถจัดการเรื่องภาษีให้ตรงเวลา. แต่ถ้าคุณจ่ายไม่ได้จริงๆ, ถัดไปอีกสัก 2 หรือ 3 สัปดาห์(อย่างน้อยก็ที่นี่ในซึคุบะ) ก็คงไม่เสียหายอะไรกับค่าล่าช้าหรืออะไรทำนองนั้น. ขอบคุณที่อ่าน โดนัลด์ แอช

อ้างสิทธิ์ในญี่ปุ่น

วันนี้ผมมีบทความเกี่ยวกับเรื่องเงินแบบสั้นๆ ทำไมมันถึงสั้นทั้งๆที่เกี่ยวกับเรื่องการเงินน่ะเหรอ? เหตุผลก็เพราะว่าการชำระบิลในประเทศญี่ปุ่นมันง่ายมากเลยน่ะสิ ตั้งแต่บิลค่าน้ำ-ไฟ ค่าอินเตอร์เนต ไปจนถึงค่าภาษี การดูแลจัดการบิลเหล่านี้ง่ายเหมือนปอกกล้วย มันไม่ได้มีขั้นตอนซับซ้อนอะไรมากมาย ฉะนั้นเรามาลุยเรื่องนี้กันเลย คุณจะได้รับบิลทางไปรษณีย์ ไม่ว่ามันจะเป็นค่าแก๊ส ค่าน้ำ ไฟ อะไรก็ตามแต่ สำหรับตัวอย่างวันนี้ผมจะใช้บิลค่าอินเตอร์เนตจาก NTT Communications เมื่อคุณเปิดดูบิล… สเตปแรก : ตรวจสอบยอดชำระ บิลของคุณอาจจะมีตัวเลขเยอะกว่าในรูป ผมต้องลบข้อมูลออกบางจุด กรอปแดงๆจะแสดงยอดเงิน 4,514เยน บวกค่าภาษีบริโภค 192เยน (รวมเป็น 4706เยน) และวันครบกำหนดจ่ายคือ 5 สิงหาคม 2011 (เลข 23年 ในบิลหมายถึงปี เป็นระบบคำนวนวันที่ใช้กันที่นี่ แต่มันหมายถึงปี 2011 ไว้ผมจะอธิบายเพิ่มในโพสครั้งต่อไป) บิลส่วนใหญ่จะมียอดค่าชำระบันทึกไว้สองที่ ที่แรกอยู่ในส่วนข้อมูลหลักบนบิล อีกที่หนึ่งจะอยู่กับต้นขั้ว ซึ่งจะถูกดึงออกไปหลังจากนั้น ถ้าหากคุณสับสนว่าต้องดูตรงไหน แค่มองหา เยนคันจิ, en หรือตัว 円, คุณก็จะหาเจอในไม่ช้า สเตปสอง : ไปที่ร้านจะดวกซื้อใกล้บ้าน & ยื่นบิลของคุณให้พนักงาน ร้านสะดวกซื้อทุกร้าน ผมหมายถึงทุกๆร้านที่ผมเคยไปมาเลยนะ จะมีบริการรับชำระบิลแทบจะทุกประเภทที่คุณจะนึกออก คุณสามารถฉีกต้นขั้วออกเองได้ แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจ ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น แค่ดึงเอกสารออกมาจากซองจดหมายแล้วยื่นให้พนักงาน คุณไม่ต้องพูดอะไรออกไปเลยแม้แต่คำเดียว สเตปสาม : ชำระยอดเงินและรอพนักงานประทับตราลงบนต้นขั้ว ภาพซูมให้เห็นชัดๆของต้นขั้วสามใบ เห็นช่องว่างๆด้านล่างนั้นมั้ย? นั่นเป็นจุดที่จะประทับตราล่ะ หลังจากยื่นทุกอย่างให้พนักงาน และจ่ายเงินเรียบร้อย ก็รอสักนิดหนึ่ง พนักงานจะประทับตราพร้อมลงวันที่ให้ทั้งสามจุด บิลส่วนใหญ่จะมีรอยปรุให้ฉีก พนักงานก็จะฉีกให้และบริการให้เสร็จสรรพ ต้นขั้วที่ได้รับการประทับตราจะเก็บไว้กับพนักงาน 2 ใบ และยื่นกลับให้คุณ 1 ใบ (ทางร้านจะเก็บไว้ใบนึง และแน่นอนว่าใบสุดท้ายจะให้กับต้นทางที่คิดค่าบริการ) สเตปที่สี่ : เก็บต้นขั้วหรือใบเสร็จของคุณไว้ ต้นขั้วที่ได้รับการปั้มตราคือหลักฐานยืนยันว่าคุณได้ชำระเงินแล้วในวันที่แสดงในบิล ผมไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการชำระบิลมาก่อน แต่เก็บรักษาไว้จะดีที่สุด อะไรจะเกิดขึ้นถ้าคุณลืมจ่ายจนถึงวันครบกำหนด แย่หน่อยที่การลืมจ่ายบิลสาธารณูปโภคไม่ได้จัดการง่ายเหมือนการลืมจ่ายค่าเช่าที่ญี่ปุ่น ซึ่งก็ค่อนข้างแปลก ผมไม่เคยพลาดหรอก แต่ก็เคยเห็นบ้างจากเพื่อนฝูง ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด วิธีการคือต้องไปที่สำนักงานที่คุณจะไปชำระ คุณสามารถไปจ่ายได้ที่นั่น ผมไม่รู้แน่ชัดว่าจะมีเรียกเก็บค่าล่าช้าไหม แต่คิดว่าไม่นะ […]

เยนญี่ปุ่น

เงินเยนญี่ปุ่น เมื่อคุณจัดการแลกเปลี่ยนเงินเยนได้แล้ว สื่งที่คุณถืออยู่คือเงินเยนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสกุลเงินประจำชาติของญี่ปุ่น ถ้าคุณอยู่ในญี่ปุ่นสักพักหนึ่งคุณจะได้เห็นธนบัตรและเหรียญเหล่านี้เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ค่าสกุลเงินต่างประเทศ เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ เงินเยนญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็นหลายค่า เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการใช้ ซึ่งค่าเงินเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเราจะเน้นที่สกุลเงินที่คุณเห็นบ่อยที่สุด เหรียญ ลองดูเหรียญเหล่านี้ก่อน เหรียญ 1 เยน เหรียญ 5 เยน เหรียญ 10 เยน เหรียญ 100 เยน เหรียญ 500 เยนมีอะไรบนเหรียญเหล่านี้บ้าง แต่ละเหรียญมีค่าที่เขียนด้วยตัวคันจิที่ด้านหนึ่งและปี ของเหรียญถูกตีพิมพ์บนอีกด้านหนึ่ง ธนบัตร ธนบัตรของธนาคารจะมีรูปภาพใบหน้าที่เป็นที่รู้จักในญี่ปุ่นอยู่ด้านหน้า พร้อมกับคันจิและธนบัตรจำนวน 1000 เยน หรือ เซน-เอ็น 5000 เยน โกะ-เซน-เอ็น และ 1000 เยน หรือ อิจิมัง เอ็น มีตราประทับอยู่ที่ด้านล่างซ้ายบนธนบัตร 5000 และ 10000 เยน (ธนบัตร 1000 เยน ไม่มี ) ที่วงรีกึ่งกลางธนบัตรจะมีลายน้ำ เมื่อชูบัตรกับแสงจะเห็นใบหน้าคนในประวัติศาสตร์เหมือนที่ปรากฏบนธนบัตร ข้อเท็จจริงของเงินเยน ธนบัตรที่มีคือ 1000 เยน 5000 เยน 10000 เยน อาจจะมี 2000 เยนที่สามารถหาได้จากธนาคาร ซึ่งธนบัตรจะมีค่าใกล้เคียงกับ 2 ดอลล่าร์ในอเมริกา มีเพียงคนกลุ่มเล็กๆที่มี แต่คุณอาจจะมีมันได้ธนาคาร ใบหน้าของใครกันที่อยู่ในธนาคาร ปัจจุบันเป็นโนกุจิ ฮิเดะโย (นามสกุลขึ้นต้นก่อน) บนธนบัตรหนึ่งพันเยน ในอเมริกาที่ด้านข้างธนบัตรจะเป็นรูปประธานาธิบดี ในกรณีนี้โนกุจิไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นนักชีววิทยาแบคทีเรียของญี่ปุ่น เก๋ใช่ไหม ใครอยู่บนธนบัตร ห้าพันเยน ปัจจุบันเป็นฮิกุจิ อิจิโย (นามสกุลขึ้นต้นก่อน)บนธนบัตรห้าพันเยน ฮิกุจิเป็นี่รู้จักในเรื่องผลงานเขียน บทกวีระหว่างปลายศตวรรษที่ 1800 แม้ว่าอิจิโยเป็นชื่อที่ปรากฏในธนบัตร แต่จริงๆแล้ว อิจิโย เป็นนามปากกาของ ฮิกุจิ นัตซึโกะที่เธอใช้ในการเขียน ใครอยู่บนธนบัตร หมื่นเยน ฟูคูจาวา […]