เงิน(เยนญี่ปุ่น)

ค่าเงินญี่ปุ่นคือเงินเยน (円, en). 1 เยนมีค่าเท่ากับ 100 เซ็น. อย่างไรก็ตาม, เงินเซ็นไม่ค่อยได้ใช้กันในชีวิตประจำวันแล้ว ยกเว้นในราคาตลาด ตั๋วเงินมีมูลค่า 1,000 เยน 2,000 เยน (หายากมาก) 5,000 เยนและ 10,000 เยน เหรียญมีจำนวน 1 เยน 5 เยน 10 เยน 50 เยนเยน 100 เยนและ 500 เยน เงินปลอมไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่เท่าไรในญี่ปุ่น สกุลเงินต่างประเทศโดยทั่วไปจะไม่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ภายนอกสนามบินใหญ่ๆ วิธีการชำระเงินในญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นมีชื่อเสียงในเรื่องของการเป็นสังคมที่ใช้เงินสด แต่แนวโน้มมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ และมีการยอมรับวิธีการชำระเงินอื่น ๆ ตามด้านล่างนี้เป็นรูปแบบการชำระเงินที่คุณอาจได้ใช้เมื่อไปประเทศญี่ปุ่น เงินสด เงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่นิยมใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้จ่ายจำนวนน้อยๆ พันธบัตรมูลค่าสูงๆได้ถูกนำมาใช้และยอมรับในญี่ปุ่น คุณจะไม่ถูกต่อว่าถ้าใช้แบงค์ 10,000 เยนเพื่อจ่ายเงินแม้แต่สินค้าที่มีราคาต่ำ แต่ถึงอย่างไรแบงค์ย่อยก็จะดูเหมาะสมกว่าสำหรับจ่ายค่าแทกซี่, ร้านค้าเล็กๆ, หรือการบริจาควัดและศาลเจ้า โอกาสที่บัตรเครดิตจะได้รับการยอมรับจะลดต่ำลงในเมืองเล็ก ๆ หรือชุมชน ดังนั้นจึงควรเก็บเงินสดไว้ในมือเมื่อไปเที่ยวชนบท เงินสดมักจะเป็นวิธีเดียวที่จะจ่ายค่าเข้าชมเล็ก ๆ ที่สถานที่ท่องเที่ยว หรือร้านอาหารและร้านค้าขนาดเล็ก ตู้เก็บของส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้เหรียญ การเตรียมเหรียญล่วงหน้าเมื่อใช้รถประจำทางและรถรางคือความคิดที่ดี รถโดยสารประจำทางโดยทั่วไปไม่ยอมรับแบงค์เงินที่มากกว่า 1,000 เยนและคนขับรถบัสอาจไม่มีแบงค์ใหญ่กว่านั้น เครื่องหยอดเหรียญมักรับเหรียญ 10, 50, 100 และ 500 เยนและแบงค์เงิน 1,000 เยน เครื่องใหม่มักรับเงิน 5,000 และ 10,000 เยน บัตรเครดิต / เดบิต มีการยอมรับใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ๆ โรงแรมส่วนมากยอมรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตแล้วในปัจจุบัน เช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่, ร้านอาหารระดับกลางถึงระดับสูง, ศูนย์การค้าและร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสถานีรถไฟหลายแห่ง, ร้านสะดวกซื้อ, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านอาหารสาขาและร้านบูติกต่างๆก็สามารถจ่ายผ่านบัตรได้ บัตร IC IC card เช่น Suica และ Icoca เป็นบัตรสะสมมูลค่าซึ่งสามารถเติมเงินได้ […]

เยนญี่ปุ่น

เงินเยนญี่ปุ่น เมื่อคุณจัดการแลกเปลี่ยนเงินเยนได้แล้ว สื่งที่คุณถืออยู่คือเงินเยนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสกุลเงินประจำชาติของญี่ปุ่น ถ้าคุณอยู่ในญี่ปุ่นสักพักหนึ่งคุณจะได้เห็นธนบัตรและเหรียญเหล่านี้เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ค่าสกุลเงินต่างประเทศ เช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นๆ เงินเยนญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็นหลายค่า เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการใช้ ซึ่งค่าเงินเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเราจะเน้นที่สกุลเงินที่คุณเห็นบ่อยที่สุด เหรียญ ลองดูเหรียญเหล่านี้ก่อน เหรียญ 1 เยน เหรียญ 5 เยน เหรียญ 10 เยน เหรียญ 100 เยน เหรียญ 500 เยนมีอะไรบนเหรียญเหล่านี้บ้าง แต่ละเหรียญมีค่าที่เขียนด้วยตัวคันจิที่ด้านหนึ่งและปี ของเหรียญถูกตีพิมพ์บนอีกด้านหนึ่ง ธนบัตร ธนบัตรของธนาคารจะมีรูปภาพใบหน้าที่เป็นที่รู้จักในญี่ปุ่นอยู่ด้านหน้า พร้อมกับคันจิและธนบัตรจำนวน 1000 เยน หรือ เซน-เอ็น 5000 เยน โกะ-เซน-เอ็น และ 1000 เยน หรือ อิจิมัง เอ็น มีตราประทับอยู่ที่ด้านล่างซ้ายบนธนบัตร 5000 และ 10000 เยน (ธนบัตร 1000 เยน ไม่มี ) ที่วงรีกึ่งกลางธนบัตรจะมีลายน้ำ เมื่อชูบัตรกับแสงจะเห็นใบหน้าคนในประวัติศาสตร์เหมือนที่ปรากฏบนธนบัตร ข้อเท็จจริงของเงินเยน ธนบัตรที่มีคือ 1000 เยน 5000 เยน 10000 เยน อาจจะมี 2000 เยนที่สามารถหาได้จากธนาคาร ซึ่งธนบัตรจะมีค่าใกล้เคียงกับ 2 ดอลล่าร์ในอเมริกา มีเพียงคนกลุ่มเล็กๆที่มี แต่คุณอาจจะมีมันได้ธนาคาร ใบหน้าของใครกันที่อยู่ในธนาคาร ปัจจุบันเป็นโนกุจิ ฮิเดะโย (นามสกุลขึ้นต้นก่อน) บนธนบัตรหนึ่งพันเยน ในอเมริกาที่ด้านข้างธนบัตรจะเป็นรูปประธานาธิบดี ในกรณีนี้โนกุจิไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นนักชีววิทยาแบคทีเรียของญี่ปุ่น เก๋ใช่ไหม ใครอยู่บนธนบัตร ห้าพันเยน ปัจจุบันเป็นฮิกุจิ อิจิโย (นามสกุลขึ้นต้นก่อน)บนธนบัตรห้าพันเยน ฮิกุจิเป็นี่รู้จักในเรื่องผลงานเขียน บทกวีระหว่างปลายศตวรรษที่ 1800 แม้ว่าอิจิโยเป็นชื่อที่ปรากฏในธนบัตร แต่จริงๆแล้ว อิจิโย เป็นนามปากกาของ ฮิกุจิ นัตซึโกะที่เธอใช้ในการเขียน ใครอยู่บนธนบัตร หมื่นเยน ฟูคูจาวา […]

ความสำคัญของสมุดบัญชีเงินฝากของญี่ปุ่น

ธนาคารในอเมริกาและในญี่ปุ่นมีบางอย่างคล้ายคลึงและแตกต่างแน่นอนว่าผมคิดว่าธนาคารในอเมริกาสะดวกมากกว่าในญี่ปุ่นหลายๆด้าน ตัวอย่างเช่นผมจำได้ว่าจะมีไดร์ฟทรูที่ซึ่งลูกค้าประจำสามารถดำเนินการทางธุรกรรมกับพนักงานผ่านอินเตอร์คอม ผมไม่เคยเห็นไดร์ฟทรูในญี่ปุ่น(บางทีอาจถูกจำกัดพื้นที่ไว้) ปกติแล้วคนทั่วไปจะถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มต่อเมื่อพวกเขาต้องการใช้จริงๆใช่ไหม ผมเคย ปกติแล้วหลังสามทุ่มจะไม่สามารถใช้บัตรและถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มได้ ผมไม่ชอบเลยในอเมริกาคุณสามารถถอนเงินได้ 24 ชั่วโมง ยกเว้นในกรณีที่ตู้เอทีเอ็มมันทำงานผิดปกติ จนผมลืมไปแล้วว่าเครื่องเอทีเอ็มปิดให้บริการในวันหยุดในสหรัฐฯหรือไม่ ไม่ได้บอกว่าธนาคารญี่ปุ่นแย่นะ พนักงานที่นั่นสุภาพและเต็มใจอย่างมากที่จะช่วยเหลือคุณอย่างน้อยก็ประสบการณ์ที่ผมสัมผัสได้กับตัวเอง มีหลายอย่างของธนาคารญี่ปุ่นที่ผมคิดว่าค่อนข้างเจ๋ง เช่น เมื่อผมฝากเงินสดเข้าบัญชีธนาคาร(oazukeire)เงินจะเข้าบัญชีทันที …ไม่ต้องรอการดำเนินการ (ผมแน่ใจว่าเช็คจะแตกต่างกันออกไป แต่ผมไม่เคยลองนะ) การโอนเงินเป็นเรื่องง่ายอย่างไม่น่าเชื่อในตู้เอทีเอ็มของญี่ปุ่นเมื่อคุณตั้งค่าเสร็จแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผมชอบคือความสะดวกสบายของสมุดบัญชีธนาคาร … สมุดบัญชีธนาคารญี่ปุ่นของคุณมีค่ามากกว่าที่คุณทราบ ในอเมริกาหลังจากการธนาคารกลายมาเป็นแบบธนาคารอิเล็คทรอนิคส์ผมไม่เห็นการใช้สมุดบัญชีเงินฝาก และพวกเขาคงจะเก็บไว้ที่ไหนสักแห่ง ในญี่ปุ่นมีความแตกต่างกัน ไม่จำเป็นต้องมีการเขียนใด ๆ เพียงแค่คุณวางสมุดบัญชีเงินฝากลงในตู้เอทีเอ็ม แล้วหลังจากที่เสียงการประมวลผลและการพิมพ์ สมุดบัญชีเงินฝากจะได้รับการอัปเดตให้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นจึงค่อนข้างง่ายที่จะทราบว่าบัญชีธนาคารของคุณอยู่ที่ใด มีอีกหนึ่งเรื่องหนึ่งที่สมุดบัญชีเงินฝากทำได้ ผมไม่รู้จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ (ผมเป็นคนล้าหลังอีกแล้ว) คุณสามารถใช้สมุดบัญชีธนาคารของคุณเพื่อถอนเงินและทำธุรกรรมที่ตู้เอทีเอ็มได้ โดยไม่ต้องใช้บัตรเอทีเอ็ม เจ๋งใช่มั้ย?ผมได้ทำมันหลายครั้งแล้ว มันเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว คุณเพียงแค่ใส่สมุดบัญชีธนาคารของคุณและทำธุรกรรมตามปกติ สมุดบัญชีเงินฝากของคุณเป็นส่วนสำคัญในการลงทะเบียนสำหรับทุกอย่างในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่การเป็นสมาชิกโรงยิมจนถึงการรักษาความปลอดภัยอพาร์ทเมนต์ จนถึงการได้โทรศัพท์มือถือผมให้สมุดบัญชีธนาคารของผมทำสิ่งเหล่านี้ สมุดบัญชีธนาคารของคุณมีข้อมูลธนาคารที่สำคัญ ดังนั้นคุณควรเก็บรักษาเช่นเดียวกับการรักษาบัตรเอทีเอ็มของคุณ คุณจะไม่ให้บัตรเอทีเอ็มของคุณกับใคร ใช่ไหม ? เป็นความคิดที่ดีในการเก็บรักษาสมุดบัญชีธนาคารของคุณในรูปแบบเดียวกัน

วิธีการใช้ตู้เอทีเอ็มญี่ปุ่น ( พื้นฐาน ) ตอนที่สอง

( อัพเดท ) หวังว่าคุณจะอ่าน ตอนที่ 1 การใช้ตู้เอทีเอ็มญี่ปุ่น ซึ่งจะแสดงให้คุณเห็นถึงคันจิสำคัญๆ ที่ต้องพบในการใช้ตู้เอทีเอ็ม ณ ตอนนี้ผมจะแสดงให้เห็นพื้นฐานแต่ละขั้นตอนโดยเริ่มจากการถอน 1. การถอน เมื่อถอนเงินระวังจำนวนเลขศูนย์ ฉันมีเพื่อนที่บังเอิญถอนเงินเกือบหมดบัญชีของเขา เพราะการเติมศูนย์ผิดพลาด (โปรดดูที่บทความถ้าคุณสับสนเกี่ยวกับเงินดอลล่าร์แลกเป็นเยนไม่ต้องกังวล ผมจะพยายามทำให้มันง่าย) ถัดไปดูพื้นฐานการฝากไปพร้อมกัน 2. การฝาก การฝากบางเครื่องจะมีช่องใส่เหรียญซึ่งค่อนข้างจะสะดวก และสมเหตุสมผลเพราะว่า 5 ดอลล่าห์ที่ใช้มีค่าเท่ากับ เหรียญ 500 เยน และตอนนี้มาตรวจสอบยอดเงินคงเหลือกัน 3. ยอดเงินคงเหลือ และไปที่โอนเงิน

ส่งเงินกลับบ้านประเทศญี่ปุ่นได้อย่างไร

หวังว่าคุณจะทำตามขั้นตอนเหล่านี้ ตอนที่ 1 ของบทความนี้ 1) ดาวน์โหลดใบสมัครจาก เวปไซต์ โกลลอยด์ 2) ส่งใบสมัครและสำเนา หนังสือเดินทางและบัตรที่อยู่ 3) รับชุดต้อนรับของ โกลลอยด์ ไปดูแพ็คต้อนรับ ซึ่งภายในควรจะได้รับสิ่งเหล่านี้ . จดหมายลงทะเบียนซึ่งแสดงหน้ารายละเอียดของบัญชีธนาคาร . บัตรฟูริโกมิ / สมุดบัญชีเงินฝาก หรือจดหมายช่วยเหลือ – ฟูริโกมิ คือการโอนเงินภายในประเทศ . สำเนาใบสมัครต้นฉบับ . นโยบายส่วนบุคคลและเอกสารการคุ้มครองข้อมูลของลูกค้า เราจะทำอะไรกับสิ่งนี้ ผมคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดคือการแสดงให้คุณเห็น ทีละขั้นๆ มีสองวิธี คือ วิธีที่หนึ่ง แสดงจดหมายกับเจ้าหน้าที่แล้วให้พวกเขาสร้างความสับสนให้คุณ หรือ วิธีที่สองทำโดยตัวคุณเอง เข้าใจใช่ไหม ถ้าคุณไม่รู้คันจิไม่เป็นไรไม่ต้องกังวล ข้อดีอย่างหนึ่งคือคุณไม่จำเป็นที่จะต้องอ่านคันจิได้แสดงหนังสือรับรองที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าจากโกลลอยด์ จะให้ข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการโอนเงินข้ามประเทศ ผมทำแบบนี้มานับครั้งไม่ถ้วนและตอนนี้รู้สึกมั่นใจพอที่จะจัดการโอนเงินเหล่านี้ด้วยตัวผมเอง

ผมจะสามารถถอนเงินจากบัญชีธนาคารต่างประเทศโดยใช้ตู้เอทีเอ็มของญี่ปุ่นได้ไหม?

คุณรู้ไหมว่าจะเป็นไปได้ไหมที่จะมีการถอนเงินจากบัญชีธนาคารของประเทศสหรัฐอเมริกาในประเทศญี่ปุ่น ผมถามคำถามนี้กับเพื่อนชาวต่างชาติจำนวนนับไม่ถ้วนรวมทั้งเพื่อนร่วมงานที่อาศัยอยู่ในปรเทศญี่ปุ่น ล้วนแต่ได้คำตอบที่เหมือนกัน คำตอบแล้วคำตอบเล่าว่า “ฉันไม่แน่ใจ” “ฉันไม่เคยลอง” “ฉันไม่รู้” อย่างไรก็ตามผมจำเป็นต้องจัดส่งของบางอย่างให้ที่บ้านวันนี้และแจแปนโพสได้ไม่อนุญาติให้ผมใช้บัตรเดบิต ถ้าผมถอนเงินจากบัญชีธนาคารของประเทศสหรัฐของผมในประเทศญี่ปุ่นได้ ผมจะตัดสินใจถอนทันที เริ่มด้วยการใช้บัตรเพย์พอลการ์ด ผมใช้บัตรของผมเข้าไปในเครื่องเอทีเอ็ม กดปุ่มแนะนำภาษาอังกฤษตู้เอทีเอ็มแจ้งให้ผมใส่รหัสพินของผมลงไป ผมป้อนหมายเลข จากนั้นใส่จำนวนเงิน ผมใส่ 2000 เยนลงไปพร้อมกับลุ้นหรือภาวนาให้มีความโชคดีเกิดขึ้น หายใจลึกๆ……รอ…..รอ…..รหัสไม่ถูกต้อง….โอ้ย ผมพยายามอีกครั้งในการใส่บัตรของผม ใส่รหัสอีกครั้งรวมทั้งจำนวนเงินที่ต้องการ หายใจลึกๆ……รอ…..รอ…..แล้วเสียงก็ดังขึ้น…..แล้วใบเสร็จก็ดีดออกมา…..มันได้ผล เพราะเป็นคำถามที่หลายคนถามถึง ผมจึงตัดสินใจทำวีดีโอขึ้นเพื่อพิสูจน์ว่ามันได้ผล (วีดีโอ จะต้องมาเร็วๆนี้) เพย์พอลเป็นบริการระดับโลกที่ยอดเยี่ยมสำหรับการชำระเงิน ดังนั้นผมจึงถอนเงินออกมาได้โดยง่ายด้วยค่าธรรมเนียมที่น้อย (ประมาณ 2%ของเงินที่ถอน ถ้าผมคำนวณไว้ไม่ผิดละก็) ผมไม่ทราบจริงๆว่าธนาคารทั้งหมดอนุญาติให้ถอนเงินข้ามประเทศได้หรือไม่ แต่ผมรู้คือ เชส และ เพย์พอล ใช้ได้ผลในประเทศญี่ปุ่น

วิธีการใช้ตู้เอทีเอ็มญี่ปุ่น ( พื้นฐาน ) ตอนแรก

การใช้เงินเป็นกิจวัตรประจำวันสำหรับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมพื้นฐานบนตู้เอทีเอ็มจึงเป็นสิ่งจำเป็น บ่อยครั้งในญี่ปุ่นคุณสามารถเข้าถึงเครื่องเหล่านั้นได้ที่ร้านสะดวกซื้อและที่ทำการไปรษณีย์ที่มีตัวเลือกเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าคุณเข้าถึงตู้เอทีเอ็มประเภทต่างๆนั้นได้จะเป็นอะไรที่เยี่ยมมาก แต่ถ้าตู้เอทีเอ็มเป็นภาษาญี่ปุ่น 100% ละ คันจิ ( เป็นเรื่องที่ยากที่สุดในการเขียนสามระบบของญี่ปุ่น ) อาจสร้างความสับสนให้กับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นมือใหม่ และแม้ว่าคุณอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นหลายปีแล้วก็ตามคันจิก็ยังทำให้คุณสับสนได้ ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำในวันนี้คือ ทำการเรียนรู้ข้อมูลสำคัญเบื้องต้นในการใช้เอทีเอ็มตู้เอทีเอ็มที่ใช้ ( เป็นของธนาคารโจโย ) ซึ่งอาจจะไม่ได้มีในทุกพื้นที่ของญี่ปุ่น แต่ผมจะแสดงให้คุณเห็นถึงแนวทางหลัก ๆ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับตู้เอทีเอ็มส่วนใหญ่ได้ เริ่มด้วยคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นห้าคำที่ควรรู้ในการใช้ตู้เอทีเอ็ม ส่วนคันจิคุณไม่จำเป็นต้องเป็นเรียนรู้ความหมายมัน ในตอนแรกผมเน้นที่การใช้คันจิ ไม่ใช่ความหมาย อย่างไรก็ดีถ้ามันมากเกินไปให้ไปที่ธนาคารและถามผู้ช่วยในธนาคาร พวกเขาสุภาพและค่อนข้างยินดีที่จะช่วยเหลือคุณ ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือเพียงแค่พูดคำง่ายๆด้านล่างนี้แล้วต่อด้วย onegaishimasu ( รบกวนแบบสุภาพ )ตัวอย่างเช่น ถ้าผมพูดว่า ohikidashi tetsudate onegaishimasu. แปลว่าฉันต้องการถอนเงิน รบกวนด้วย ทั้งนี้ไวยกรณ์ไม่สมบูรณ์นัก แต่พนักงานจะเข้าใจว่าคุณจะถอนเงินได้โปรดช่วยหน่อย ทำให้มันง่ายๆตอนนี้เลย Ohikidashi (โอฮิกิดะชิ) = ถอนเงิน Oazukeire (โออาซึเคย์เระ) = ฝากเงิน Zandaka shoukai ( ซังดะคะ โชวไค) = สอบถามยอด Ofurikomi (โอฟูริโคะมิ) = โอนเงิน (จากบัญชีธนาคาร Tsuchoukinyuu (ซึโจวคินยูวว์ = อัพเดทสมุดบัญชี) ถัดไปดูที่แผนผังที่ตู้เอทีเอ็ม ตู้เอทีเอ็มมีลักษณะอย่างไร Functioning = การทำงาน card slot =ช่องใส่บัตร coin dispenser= ที่หยอดเหรียญ Touch Panel Display =หน้าจอทัช Paper Carrency =ช่องใส่ธนบัตร bankbook Slot statement Display ช่องใส่สมุดบัญชี เห็นไหม?ดูไม่ต่างจากเอทีเอ็มที่ใช้บ้านคุณเลย สิ่งที่ยอดเยี่ยมเลยคือ เป็นเครื่องรับเหรียญได้ ซึ่งมันสมเหตุสมผล โดยเหรียญที่ใหญ่ที่สุด( 500 เยน ) มีค่าเท่ากับ 5 ดอลล่าร์ […]

วิธีการส่งเงินกลับบ้านจากประเทศญี่ปุ่น

อัพเดท – สวัสดีเพื่อนพ้อง นี่คือบันทึกแบบลัดสั้นที่จะทำให้คุณรู้จักกับโกลลอยด์  ซึ่งตอนนี้เป็นบริการของโกรีมิตของธนาคารซิเนะเซะอิ  คุณสามารถลงทะเบียนแบบเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษได้ที่นี้. ซึ่งอาจจะมีการอัพเดทเพิ่มขึ้นตามลำดับ   เมื่อผู้คนสนใจที่จะย้ายไปประเทศญี่ปุ่น  หนึ่งในสิ่งที่ผู้คนตะหนักมากที่สุดคือการจัดการหนี้สิน เช่น   ค่ารถ ค่าบัตรเครดิต  ทุนกู้เรียนเป็นต้น   บ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้คนรู้สึกผูกติดกับประเทศตัวเองและเป็นเหตุผลหลักที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการไปต่างประเทศ ผมรู้เพราะผมอยู่จุดนั้นมาก่อน  ผมยังจำได้ว่าผมกังวลว่าจะจัดการอย่างไรกับภาระผูกพันทางการเงินของผมอย่างไรดีถ้าผมมาทำงานและอยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นตลอดหนึ่งปีเต็ม ผมเกือบจะปล่อยให้ความสงสัยเหล่านั้นมามีอิทธิพลเหนือผมและเกือบพลาดประสบการณ์ที่เติมเต็มชีวิตผมมากที่สุดประสบการณ์หนึ่ง  แม้ว่าจะกังวลแต่ผมก็มั่นใจว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดีและมายังประเทญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อผมมีงานที่มั่นคงและหาเงินเพียงพอเพื่อที่จะจ่ายค่าหนี้  แต่การได้เงินไปประเทศสหรัฐอเมริกาช่างเป็นเรื่องยุ่งยากเสียจริง  ช่างเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับผมที่จะหาบริการที่ทำให้มันง่ายขึ้น  ผมค้นหาแล้วค้นหาอีก แต่ทุกอย่างล้วนค่าใช้จ่ายสูงทั้งสิ้นหรืไม่ก็นานเกินไป   ซึ่งจะต้องจ่ายค่าหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด  โดยที่ธนาคารและบริษัทที่ให้กู้เรียนจะไม่รอผมหาวิธีการจ่ายจนเสร็จ   การแก้ปัญหาของผมเบื้องต้นคือ 1) ส่งเงินให้สมาชิกในครอบครัวผ่านทางแจแปนโพส  2) ให้พวกเขาฝากเงินไว้ในธนาคารของผม และจากนั้น 3)ทำการจ่ายเงิน  สำหรับบางธนาคารคุณอาจจะส่งเงินไปให้โดยตรงเลยก็ได้ แต่อาจใช้เวลาอยู่บ้าง  ข้อดีของการใช้วีนี้คือไม่แพงมาก  หลังจากที่พยายามทำวิธีที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้เวลาสักหน่อย  อย่างเช่นการเข้าคิวรอ กรอกเอกสารทุกครั้งในการทำธุรกรรม   จ่ายค่าไปรษณีย์ เป็นต้น ผมคิดกับตัวเองว่า “ต้องมีวิธีที่ดีกว่านี้”   แล้วมันก็จบด้วยการที่ผมไปคุยผู้ร่วมงานซึ่งเป็นชาวอเมริกัน(และเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีตอนนี้)  และเรียนรู้ว่ามันไม่ยากอย่างที่คิด ผมขอแนะนำบริการที่เรียกว่า โกลลอยด์    โกลลอยด์คืออะไร  โกลลอยด์คือ ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อยที่ใหญี่ที่สุดของประเทศอังกฤษ  ซึ่งรับฝากสกุลเงินต่างประเทศและการส่งเงินกลับประเทศ  สาขาโตเกียวก่อตั้งตั้งแต่ปี1974   ค่าส่งเงินเท่าไหร่? มีค่าธรรมเนียม3ค่าที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะโอนเงินข้ามประเทศ 1) ค่าธรรมเนียมการโอนเงินภายในประเทศไปยังโกลลอยด์ (จากธนาคารของคุณในญี่ปุ่น) 2) 2000เยน ค่านายหน้าของโกลลอยด์  และ 3) ค่าธรรมเนียมการโอนในประเทศของคุณ  ผมรู้ว่ามันฟังดูเยอะไปสักหน่อยใช่ไหม แต่ผมจะบอกคุณจากประสบการณ์ของผม  ไม่ต้องกังวล  มันไม่แย่อย่างที่คิด  นี้คือตัวอย่างจริง   การส่งเงินครั้งสุดท้ายของผมเมื่อวันที่ 1 กันยายน สำหรับ 14000 เยน  แต่แตกเป็นค่าธรรมเนียมให้คุณดู 14000 เยน  – 525 เยน (ค่าธรรมเนียมการโอนเงินภายในประเทศไปยังโกลลอยด์) =13475 เยน 13475 เยน – 2000 เยน (ค่านายหน้าของโกลลอยด์ ) = 11475 เยน จำนวนที่ผมได้รับในบัญชีธนาคารสหรัฐจากการทำธุรกรรมครั้งนี้คือ 130.00 ดอลล่าร์ […]